|
|
|
|
ประชากรตำบลพยุหะ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อุปนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี ตั้งหมู่บ้านอยู่เป็นกลุ่ม มีความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดเป็นศูนย์รวมของคนในชุมชน ผู้คนมีความสามัคคียึดมั่นในวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นและวัฒนธรรมประเพณี |
|
|
|
|
|
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพยุหะ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีศาสนสถาน จำนวน 4 แห่ง |
|

 |
สำนักสงฆ์หนองกระทิง (หมู่ที่ 1 บ้านหาดเหนือ) |
|

 |
สำนักสงฆ์คุณากรวนาราม (หมู่ที่ 3 บ้านเนินฝอยทอง) |
|

 |
สำนักสงฆ์เขารัง (หมู่ที่ 3 บ้านเนินฝอยทอง) |
|

 |
คริสตจักรสัมพันธ์ (หมู่ที่ 2 บ้านดงกระเปา) |
|
|
|
|

 |
สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ |
จำนวน |
1 |
แห่ง |
|
- โรงพยาบาลพยุหะคีรี (ขนาด 30 เตียง) |
|
|
|
|
|
|
|

 |
โรงเรียนพยุหะพิทยาคม (ระดับมัธยมศึกษา) |
|
โรงเรียนพยุหะพิทยาคม ตั้งอยู่เลขที่ 100 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมจำนวน 19 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 687 คน |

 |
โรงเรียนอินทารามวิทยา (ระดับประถมศึกษา) |
|
โรงเรียนอินทารามวิทยา ตั้งอยู่เลขที่ 22/34 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา 1 เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล และระดับชั้นประถมศึกษา |
|
|
|
|
 |
ประเพณีและงานประจำปี |
 |
|
|

 |
ประเพณีเผาข้าวหลาม ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันที่ชาวบ้านเผาข้าวหลาม เพราะวันรุ่งขึ้นเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “งานบุญเพ็ญเดือนสาม” ชาวบ้านจะนำข้าวหลามไปถวายแด่พระสงฆ์ที่วัดประจำหมู่บ้านในงานพิธีทำบุญข้าวหลามประจำปี ที่กำหนดให้วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันงานบุญก็เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาเสร็จสิ้นจากการเก็บเกี่ยวข้าว จึงถือโอกาส นำข้าวที่ได้มาทำเป็นข้าวหลามและขนมจีน เพื่อทำบุญเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว |

 |
รำกลองยาว คณะกลองยาวที่มีชื่อเสียงของชาวอำเภอพยุหะคีรี คือ คณะ บ.รุ่งเรืองศิลป์ ของนายบุญ เอี่ยมเวช ซึ่งได้ดัดแปลงท่าร่ายรำมาจากท่าร่ายรำของลิเก พร้อมได้ดัดแปลงประดิษฐ์ชุดแต่งกายขึ้น โดยเลียนแบบจากเครื่องแต่งกายของลิเกเช่นกัน และใช้ชื่อว่า “กลองยาวประยุกต์” และได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2500 ปัจจุบันมีการถ่ายทอดศิลปะการแสดงแก่บุคคลรุ่นหลัง โดยนางประพิษ สิงห์เถื่อน ราษฎรหมู่ที่ 2 บ้านดงกระเปา |

 |
ประเพณีผีโรง เป็นประเพณีที่ชาวอำเภอพยุหะคีรีได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน โดยกำหนดจัดทำในปีที่มีเดือน 8 สองหน ซึ่งอยู่ในช่วงเดือน 7 หรือปลายเดือนพฤษภาคม ประมาณ 3-4 ปี จะมีการทำพิธีนี้ครั้งหนึ่ง เรียกว่า “การส่งผีโรง” เชื่อกันว่าเมื่อลูกหลานในบ้านมีการแยกครอบครัวไปจะต้องรับผี บรรพบุรุษปู่ย่าตายายที่เรียกว่าผีโรงไปอยู่ด้วยเพื่อคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข |
|
|